วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

NTFSและFAT32

NTFS

NTFS เป็นระบบแฟ้มที่ต้องการสำหรับ Windows รุ่นนี้ NTFS มีข้อดีที่เหนือกว่าระบบแฟ้ม FAT32 รุ่นก่อนหน้าหลายประการ ได้แก่
  • ความสามารถในการกู้คืนโดยอัตโนมัติจากข้อผิดพลาดบางอย่างที่เกี่ยวกับดิสก์ ในขณะที่ FAT32 ไม่สามารถทำได้
  • การสนับสนุนที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับฮาร์ดดิสก์ที่ใหญ่ขึ้น
  • ความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากคุณสามารถใช้สิทธิ์และ การเข้ารหัสลับ เพื่อจำกัดการเข้าถึงแฟ้มบางแฟ้มสำหรับผู้ใช้ที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้น

FAT32

FAT32 และ FAT ที่ใช้กันน้อยกว่าถูกใช้ในระบบปฏิบัติการของ Windows รุ่นก่อนหน้านี้ รวมถึง Windows 95, Windows 98 และ Windows Millennium Edition FAT32 ไม่มี ความปลอดภัยที่ระบบ NTFS จัดให้ ดังนั้นถ้าคุณมี พาร์ติชัน หรือ ไดรฟ์ข้อมูล ของ FAT32 ในคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้รายใดที่ได้เข้าถึงคอมพิวเตอร์ของคุณจะสามารถอ่านแฟ้มใดๆ ก็ได้บนระบบแฟ้มนี้ FAT32 ยังมีข้อจำกัดด้านขนาด คุณ ไม่สามารถสร้างพาร์ติชันของ FAT32 ที่มากกว่า 32GB ใน Windows รุ่นนี้ได้ และคุณไม่สามารถเก็บแฟ้มที่มีขนาดใหญ่กว่า 4GB บนพาร์ติชันของ FAT32 ได้

คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux

คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux
  • เป็นระบบปฏิบัติการแบบหลายงาน และหลายผู้ใช้ (Multitasking & Multiuser) ที่สมบูรณ์แบบ ทำให้สามารถมีผู้ใช้งานพร้อมๆ กัน ได้หลายๆ คน และแต่ละคนก็สามารถรันโปรแกรมได้หลายๆ โปรแกรมพร้อมๆ กัน
  • มีความเข้ากันได้ (Compatible) กับระบบ UNIX ส่วนมากในระดับ Source Code
  • ความสามารถในการสลับหน้าจอระหว่าง Login sessions ต่างๆ บนหน้าจอคอนโซลในเท็กซ์โหมดได้ (Pseudo Terminal, Virtual Console)
  • สนับสนุนระบบไฟล์หลายชนิด เช่น Minix-1, Xenix, ISO-9660, NCPFS, SMBFS, FAT16, FAT32, NTFS, UFS เป็นต้น
  • สนับสนุนเครือข่าย TCP/IP ตลอดจนมีโปรแกรมไคลเอ็นต์ และเซิร์ฟเวอร์สำหรับบริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น FTP, Telnet, NNTP, SMTP, Gopher, WWW
  • Kernal ของ Linux มีความสามารถในการจำลองการทำงานของ Math Processor 80387 ทำให้สามารถรันโปรแกรม ที่ต้องการใช้งานคำสั่งเกี่ยวกับ floating-point ได้
  • Kernal ของ Linux สนับสนุน Demand-Paged loaded executable คือ ระบบจะเรียกใช้โปรแกรม เท่าที่จะใช้งานเท่านั้น จากดิสก์สู่หน่วยความจำ เป็นการใช้หน่วยความจำอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการใช้หน่วยความจำส่วนเดียว กับขบวนการหลายๆ ขบวนการพร้อมๆ กัน (Shared copy-on-write pages)
  • สนับสนุน swap space มากถึง 2 GB ทำให้มีหน่วยความจำใช้งานมากขึ้น จึงรัน Application ขนาดใหญ่ได้ และมีผู้ใช้งานได้พร้อมกันมากขึ้น
  • Kernal มีระบบ Unified Memory Pool สำหรับโปรแกรมและ Cache ทำให้ Cache ปรับเพิ่ม-ลดขนาดได้โดยอัตโนมัติ ขณะที่มีการเรียกใช้ หรือไม่ใช้โปรแกรมใดๆ
  • โปรแกรมที่รันมีการใช้งาน Library ร่าวมกัน (Dynamically Linked Shared Libraries) ทำให้โปรแกรมมีขนาดเล็ก และทำงานเร็ว
  • สนับสนุนการดีบัก (Debug) โปรแกรม และหาสาเหตุที่ทำให้โปรแกรม ทำงานผิดพลาดได้V

ข้อดีและข้อเสียของ linux

ข้อดี
  • Install ง่ายและเร็ว Install ครั้งเดียวได้ทั้ง OS และ Application พื้นฐานที่จำเป็น นอกจากนั้นยังสามารถติดตั้งแบบคู่กับ Windows คือใช้ได้ทั้งสองระบบในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันได้ สำหรับการทดลองใช้ช่วงแรกก็สามารถเล่น Linux จาก CD หรือ USB Drive ได้โดยไม่ต้อง Install 
  • ทำงานในเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าๆ ได้ โดยไม่ต้อง Upgrade
ข้อเสีย

  •  Driver สำหรับ Hardware ใหม่ๆ อาจไม่มีหรือไม่ดีเท่า Windows เนื่องจากผู้ผลิต Hardware มัก จะไม่ทำ Linux Driver ต้องรอให้ Linux Community ทำขึ้นมาใช้เอง แต่เดี๋ยวนี้ดีขึ้นมาบ้างเพราะมีคนใช้ Linux มากขึ้น และบริษัทคอมพิวเตอร์หลายๆ บริษัทก็ติดตั้ง Linux มาให้ตอนซื้อเครื่องใหม่ 
  • คุณต้องมีเวลาและให้ความสนใจในการศึกษา Linux เพราะมันต่างกับ Windows ที่คุณเคยใช้มาและการใช้ Linux ทำให้คุณต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ เพราะงานหลายๆ อย่างต้องใช้ Command Line ซึ่งต้องจำๆ ไม่ใช่ Point and Click แบบ Windows 

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

centos คืออะไร

          CentOS ย่อมาจาก Community Enterprise Operating System เป็นลีนุกซ์ที่พัฒนามาจากต้นฉบับ RedHat Enterprise Linux (RHEL) โดยที่ CentOS ได้นำเอาซอร์สโค้ดต้นฉบับของ RedHat มาทำการคอมไพล์ใหม่โดยการพัฒนายังเน้นพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ Open Source ที่ถือลิขสิทธิ์แบบ GNU General Public License ในปัจจุบัน CentOS Linux ถูกนำมาใช้ในการทำ Web Hosting กันอย่างกว้างขวางเนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่มีต้นแบบจาก RedHat ที่มีความแข็งแกร่งสูง (ปัจจุบันเน้นพัฒนาในเชิงการค้า) การติดตั้งแพ็กเกจย่อยภายในสามารถใช้ได้ทั้ง RPM, TAR, APT หรือใช้คำสั่ง YUM ในการอัปเดทซอฟต์แวร์แบบอัตโนมัติ

ข้อดี ข้อเสีย ของwindows XP

ข้อดี
- มีการตกแต่งให้อินเทอร์เฟซสวยงาม ดูแปลกตา และน่าใช้มากยิ่งขึ้น
- เป็นระบบที่มีความมั่นคงและเสถียรภาพมากกว่า Windows Me และ 98
- มีออปชั่นมากมายให้เลือกใช้สำหรับสื่อดิจิตอล เช่น Mp3, กล้องดิจิตอล และเครื่องเล่นวีดีโอแบบ Streaming
- ทำงานร่วมกับซอฟท์แวร์ส่วนใหญ่ได้
- จัดสรรเครื่องมือล็อกอินที่รองรับการใช้งานได้หลายคน ซึ่งเหมาะสำหรับครอบครัวที่มีคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว แต่มีสมาชิกหลายคน
- ไฟล์ภายในเครื่องสามารถทำงานร่วมกับเว็บได้อย่างดี
- สนับสนุนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้มากกว่า Windows 2000
- เพิ่ม Firewall เข้าไปเพื่อป้องกันผู้ใช้โดยอัตโนมัติ ขณะที่กำลังท่องอินเทอร์เน็ต
ข้อเสีย
- ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจกับอินเทอร์เฟซใหม่ๆ
- ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสเปค ค่อนข้างสูง คือ RAM ขนาด128 MB, ฮาร์ดดิสก์ 2GB เป็นต้น
- เวอร์ชั่น Beta2 นี้ยังไม่สมบูรณ์ดี
ถ้าจะให้แนะนำ ในทางที่ดีเราควรจะรอใช้ XPที่เป็นเวอร์ชันสุดท้ายจะดีกว่า เพราะว่า XP beta2 นี้ยังไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอสำหรับการใช้งานทั้งที่บ้านและในที่ทำงาน อีกทั้งยังมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้การใช้งานยังไม่ราบรื่นอีกด้วย

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

การติดตั้ง windows xp

1.เปิดเครื่องแล้วเข้าไปเซ็ตค่าบูตจากไดร์ฟซีดีรอมที่ไบออส ซึ่งเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีปุ่มกดไม่เหมือนกัน เช่น
+ เมนบอร์ด Asus, ECS, Gigabyte, MSI ให้กด Del หรือ Delete เพื่อเข้าหน้าไบออส
+ เมนบอร์ด Asrock ให้กด F2 เพื่อเข้าหน้าไบออส
+ เมื่อเข้าไปแล้ว ไบออสอาจจะไม่เหมือนกัน แต่ให้หาหัวข้อบูต ซึ่งหัวข้อแรกให้เลือกเป็น CD-Rom และตัวที่สองให้เลือกเป็น Harddisk ดังรูป
2.เมื่อเซ็ตค่าเสร็จแล้วให้กด ESC 1 ครั้ง เพื่อออกมาที่หน้าหลัก แล้วเลื่อนลูกศรไปที่ Exit > Exit & Save Changes เพื่อออกจากไบออส
3.เสร็จแล้วจะพบกลับหน้าจอนี้ Press any key to boot from CD ให้กดปุ่ม Enter หรือปุ่มอะไรก็ได้ เพื่อสั่งให้บูตจากไดร์ฟซีดี
4.ตัววินโดวส์จะเริ่มการโหลดไฟล์ที่จำเป็นต่างๆ ให้ปล่อยไว้เลย 
5.ถ้ากดปุ่ม Enter จะเป็นการสั่งให้การติดตั้งวินโดวส์ดำเนินการต่อไป แต่ถ้ากด R จะเป็นการซ่อมแซมไฟล์ของวินโดวส์ที่มีปัญหาผ่านหน้าต่างดอส ในที่นี้จะเป็นการติดตั้งใหม่ให้กด Enter
6.ให้กดปุ่ม F8 เพื่อยอมรับเงื่อนไขข้อตกลงในการใช้งาน Windows XP ที่ทางไมโครซอฟต์กำหนดไว้
7.ถึงหน้านี้ให้กด ESC=Don’t Repair เพื่อไม่ต้องการซ่อมแซมไฟล์ เพราะต้องการล้างหรือติดตั้งวินโดวส์ใหม่
8.ใช้ปุ่มที่คีย์บอร์ดเลือกไดร์ฟ C: และกดปุ่ม D เพื่อลบพาร์ทิชัน
9.หลังจากกดปุ่ม D จะมีหน้าต่างยืนยันการลบพาร์ทิชัน ให้กด Enter
10.วินโดวส์จะถามซ้ำอีกครั้งว่าท่านต้องการลบพาร์ทิชันนี้? ให้กด L เพื่อยืนยันการลบ
11.จากรูปจะแสดงพาร์ทิชันเปล่าที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ กด Enter เพื่อติดตั้งวินโดวส์ต่อไป
12.สำหรับการเลือกรูปแบบการฟอร์แมตไดร์ฟ จะมีรายละเอียดดังนี้
Format the partition using the NTFS file system (Quick) = จะเป็นการฟอร์แมตไดร์ฟและแปลงรูปแบบไฟล์ระบบเป็น NTFS (ฟอร์แมตอย่างเร็ว)
Format the partition using the FAT file system (Quick) = จะเป็นการฟอร์แมตไดร์ฟและแปลงรูปแบบไฟล์ระบบเป็น FAT32 (ฟอร์แมตอย่างเร็ว)
Format the partition using the NTFS file system = จะเป็นการฟอร์แมตไดร์ฟและแปลงรูปแบบไฟล์ระบบเป็น NTFS (ฟอร์แมตแบบธรรมดา)
Format the partition using the FAT file system = จะเป็นการฟอร์แมตไดร์ฟและแปลงรูปแบบไฟล์ระบบเป็น FAT32 (ฟอร์แมตแบบธรรมดา)
แนะนำให้เลือกตัวเลือกที่ 1 นั่นก็คือการฟอร์แมตไดร์ฟและแปลงรูปแบบไฟล์ระบบเป็น NTFS (ฟอร์แมตอย่างเร็ว)
13.ระบบจะเริ่มทำการฟอร์แมตไดร์ฟ C เพื่อติดตั้งวินโดวส์ใหม่
14.ต่อจากนั้น ระบบจะเริ่มก๊อปปี้ไฟล์สำหรับการติดตั้งทั้งหมดลงฮาร์ดดิสต์ ให้รอสักครู่
15.ให้รอสักครู่ ระบบกำลังดำเนินการเพื่อรีสตาร์ทเครื่องใหม่ หรือกด Enter ถ้าไม่อยากรอ
16.เมื่อบูตเครื่องขึ้นมาใหม่ ระบบวินโดวส์ก็จะทำการติดตั้งตัวเองต่อ จะใช้เวลาในการติดตั้งสักครู่
17.ระบบจะให้กำหนดภาษามาตรฐานที่จำเป็นต้องใช้ ให้คลิก Next > ต่อไปได้เลย (ในส่วนนี้เราสามารถกำหนดค่าใหม่ได้ในภายหลัง ซึ่งจะอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย)
18.ใส่ชื่อของเรา (ชื่อสำหรับล็อกอิน) และชื่อบริษัทหรือใส่ตามความต้องการ
19.ใส่ Product Key ของ Windows XP ที่มีให้มาในกล่องกับแผ่นวินโดวส์หรือบนตัวแผ่นซีดี (จะมีมาให้ทั้งที่เป็นวินโดวส์ลิขสิทธิ์และวินโดวส์เถื่อน แต่ถ้าเป็นวินโดวส์แฟชั่นหรือวินโดวส์โมดิฟายจะไม่มีขั้นตอนนี้มาให้)
20.ใส่ชื่อ Computer name: ชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ในส่วนของ Type an Administrator password. ตรงนี้ไม่ต้องใส่ก็ได้ เราสามารถกำหนดค่าได้ในภายหลัง
21.กำหนดค่าเวลามาตรฐานที่จำเป็นต้องใช้ในหัวข้อ Time Zone ให้เป็นเวลาของประเทศไทย ดังรูป
22.สำหรับการกำหนดค่าของเน็ตเวิร์คในส่วนนี้ให้เลือกเป็นแบบทั่วไป (Typical settings)
สำหรับรูปแบบการติดตั้ง Windows XP จะมีหัวข้อให้เลือกดังนี้
Typical: ติดตั้งแบบทั่วไป ซึ่งจะมีส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับการใช้งานพื้นฐานทั่วไปได้ทันที
Custom: เราสามารถเลือกองค์ประกอบสำหรับการติดตั้งได้เอง โดยอาจเลือกเฉพาะบางส่วนที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้นก็ได้
23.กำหนดค่า Workgroup ที่จำเป็นต้องใช้ในระบบเครือข่าย ในที่นี้ระบบจะกำหนดระบบให้เราโดยอัตโนมัติ ให้กด Next > ต่อไปได้เลย
24.ระบบจะทำการติดตั้งในส่วนที่เหลือต่อจนจบ ให้รอสักครู่
25.ระบบการติดตั้งจะทำการรีสตาร์ทตัวเองเพื่อบูตเข้าระบบใหม่ แล้วจะเจอกับหน้าจอต้อนรับของ Windows XP
26.หน้าจอสำหรับ Windows Updates เมื่อมี Service Pack หรือส่วนต่างๆที่ถูกพัฒนาและอัพเดตใหม่ ตัววินโดวส์จะคอยอัพเดตให้อัตโนมัติ ในส่วนนี้เราปิดการทำงานเบื้องต้นไปได้เลย โดยเลือกที่ Not right now
27.หน้าจอสำหรับการลงทะเบียนกับทางไมโครซอฟต์ เลือก No, not at this time เพื่อไม่ลงทะเบียนในตอนนี้
28.กำหนดชื่อผู้ใช้ เพื่อมีสิทธิ์ในการเข้าใช้งานวินโดวส์ได้ (แต่ในส่วนนี้เราสามารถเพิ่มได้ในภายหลังด้วย)
29.คลิก Finish เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนของการติดตั้งวินโดวส์
30.แสดงหน้าจอสำหรับเริ่มต้นการเข้าใช้งาน Windows XP 

ข้อดี ข้อเสีย windows 7

ข้อดีของ Windows 7 
1.ประสิทธิภาพดีกว่า > Windows XP 50% , > Windows Vista 25-40% 
           1.1  เร็วขึ้นโดยใช้ CPU จำลอง Graphic 3D (WDDM 1.0-1.1) ช่วยให้เครื่องที่ไม่มี VGA Card 3D แยกสามารถทำงานได้เต็มที่ + DirectX 11 
           1.2 ใช้ประสิทธิภาพ Hardware(RAM,HD,etc) ได้เต็มประสิทธิภาพ (มองเห็น RAM 4.00 GB,คัดลอกข้อมูลได้เร็วและเสถียรกว่า Vista) 
            1.3 ไม่ทำ Index พร่ำเพรื่อเหมือน Vista 
2.เสถียร แม้จะเป็น version ทดสอบและเบต้า 1 ก็ยังทำงานได้ดี และลดอัตราการปิดหน้าจอทั้งหมด (IE) และมีการจำ URL ที่เข้าล่าสุดก่อนการปิดแบบผิดปกติไว้ ในบางครั้งที่เกิดการทำงานหนัก(Not Responce) ก็ยังสามารถทำงานอื่นต่อได้เพื่อรอ 
3.สามารถทำ virtualization จำลองการทำงานได้ดี (ทดสอบบน Sun xVM VirtualBox 2.1) ติดตั้ง Windows XP , Windows 7 และ VS2008 พร้อมกันได้
 4. สามารถใช้ Application ที่ใช้ได้บน Vista ได้ สำหรับ XP ใช้ได้บางโปรแกรม

ข้อเสีย 
1.ใช้พื้นที่ฮาร์ดิสสำหรับการติดตั้งค่อนข้างมาก (9-11GB) 
2.โปรแกรมที่ใช้บน Windows XP อาจใช้ไม่ได้บน Windows 7 (ต้องมีประสบการณ์การใช้ Vista) 
3.Driver Hardware มีน้อย และต้องรอให้ Windows Update ให้ อาจใช้ไม่ได้กับเครื่องรุ่นเก่าบางรุ่น (เช่น IBM R51 CPU 1.6GHz แต่ไม่พบ Driver VGA ทำให้ใช้ประสิทธิภาพ 3D ได้ไม่เต็มที่) 
4.อาจมี bug ของ IE 8 beta บ้างในบาง web site , ต้องแก้ปัญหาภาษาไทยโดยยกเลิก font style